ส่งเงินสมทบประกันสังคมเกิน …. ขอคืนได้

            ปัจจุบันมีระเบียบสำนักงานประกันสังคมที่ระบุว่า หากนายจ้างหรือผู้ประกันตน ส่งเงินสบทบเกินจำนวนที่ต้องส่ง สามารถขอรับเงินคืนได้  และหนึ่งในกรณีที่จะขอรับเงินคืนก็คือ การที่ผู้ประกันตนทำงานกับนายจ้างหลายรายนั่นเอง  รายละเอียดติดตามได้จากบทความเรื่อง นายจ้าง ผู้ประกันตน นำส่งเงินสมทบไว้เกินจำนวนที่ต้องจ่าย ขอคืนได้ เมื่อเร็วๆ นี้นายจ้างและผู้ประกันตนอาจได้ทราบข่าวว่าสำนักงานประกันสังคมได้ออก ระเบียบสำนักงานประกันสังคม ว่าด้วยการขอรับเงินสมทบที่นำส่งไว้เกินจำนวนที่ต้องชำระคืน พ.ศ. 2560 (มีผลใช้บังคับวันที่ 29 มิถุนายน 2560) โดยมีสาระสำคัญว่า “ให้นายจ้างหรือผู้ประกันตนที่นำส่งเงินสมทบให้แก่สำนักงานประกันสังคมเกินจำนวนที่ต้องชำระ ยื่นคำร้องขอรับเงินคืนเป็นหนังสือต่อสำนักงานประกันสังคมแห่งใดแห่งหนึ่งที่สะดวกในการติดต่อ” สิทธิของนายจ้างและผู้ประกันตนดังกล่าว มีฐานที่มาจากมาตรา 47 วรรค 4  แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 บัญญัติว่า “ในกรณีที่นายจ้างนำเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตน หรือเงินสมทบในส่วนของนายจ้างส่งให้แก่สำนักงานเกินจำนวนที่ต้องชำระ ให้นายจ้างหรือผู้ประกันตนยื่นคำร้องขอรับเงินในส่วนที่เกินคืนได้ตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนด” ดังนั้นจึงมีความหมายเฉพาะกรณี “เงินสมทบ” ที่นำส่งไว้เกินจำนวนเท่านั้น ไม่ได้หมายรวมถึงเงินประเภทอื่นแต่อย่างใด ประเด็นปัญหา : การส่งเงินสมทบเกินจำนวนที่จะต้องชำระจะเกิดขึ้นในกรณีใดได้บ้าง? พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 กำหนดหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้าง (หมายถึง […]

ความผิดฐานฟอกเงิน

การหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรไม่ได้จำกัดเฉพาะความผิดตามประมวลรัษฎากรเท่านั้น แต่ถือเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการฟอกเงินอีกด้วย หน้าที่ในการเสียภาษีอากรตามกฎหมายเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนตามรัฐธรรมนูญ โดยภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นอำนาจและความรับผิดชอบของกรมสรรพากร แบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น ซึ่งเมื่อประชาชนรู้หรือเพิ่งรู้ว่าตนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรก็ต้องเสียภาษีให้ถูกต้องครบถ้วน กรณีประชาชนที่มีหน้าที่เสียภาษีอากรได้หลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร โดยไม่ชำระภาษีให้แก่กรมสรรพากรหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หนีภาษีอากร (Tax evasion) เจ้าพนักงานกรมสรรพากรสามารถประเมินภาษีอากรบุคคลดังกล่าวได้ตามกฎหมาย ส่งผลให้ต้องเสียภาษีในจำนวนที่ตนไม่ได้เสียหรือเสียขาดไป พร้อมทั้งต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ประการหนึ่ง อย่างไรก็ดีในปัจจุบันปัญหาการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรไม่ได้จำกัดเฉพาะความผิดตามประมวลรัษฎากรแล้วเท่านั้น แต่หากการหลีกเลี่ยงภาษีอากร พยายามหลีกเลี่ยงภาษีอากร หรือฉ้อโกงภาษีอากร หรือขอคืนภาษีโดยความเท็จโดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน เช่น กรณีตามมาตรา 37 มาตรา 37 ทวิ และมาตรา 90/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นความผิดอาญาตามประมวลรัษฎากรอยู่แล้ว แต่การกระทำดังกล่าวยังถือเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการฟอกเงินอีกประการหนึ่งด้วย ซึ่งการกำหนดให้อาชญากรรมเกี่ยวกับภาษีอากรเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการฟอกเงินดังกล่าวต้องพิจารณาองค์ประกอบตามที่กฎหมายกำหนดเป็นสำคัญ สำหรับจุดเริ่มต้นของการควบคุมความผิดฐานฟอกเงินนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง Asia Pacific Group on Money Laundering (APG) ที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นที่ประเทศไทยในช่วง พ.ศ. 2540 ซึ่งตามข้อบังคับ (Terms of References) ของ APG กำหนดให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำของ Financial […]

ภาพรวมของการเปลี่ยนแปลง…

ขอแบ่งออกเป็น 2 ส่วนนะครับ คือ ภาพรวมของการเปลี่ยนแปลง และ ความเสี่ยงที่ผู้เสียภาษีต้องระวัง ภาพรวมของการเปลี่ยนแปลง… • แนวทางใหม่ของสรรพากรกับสำนักงานบัญชีนั้นจะเป็นการร่วมมือกัน โดยการให้ความรู้ในการจัดทำบัญชีที่ถูกต้อง ชอบธรรม และยั่งยืน • โดยวิธีการตรวจสอบในปัจจุบันนั้นจะมีเรื่องของการตรวจแนะนำด้านภาษี การเตือนให้ยื่นแบบ การวิเคราะห์และการตรวจสอบแบบแสดงรายการภาษี การตรวจปฎิบัติการ และการออกหมายเรียก ซึ่งลำดับความรุนแรงและการเลือกใช้นั้นจะแตกต่างกันไป และไม่จำเป็นต้องดำเนินการจากเบาไปหาหนัก ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีและความเหมาะสมของเครื่องมือต่างๆในการพิจารณา • ปัจจุบัน สรรพากรจะใช้เครื่องมือวิเคราะห์ที่เรียกว่า RBA หรือ Risk Base Audit System #ไม่แน่ใจว่าเรียกถูกไหมแต่ได้ยินมาประมาณนี้ครับ โดยผ่านจากการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากแหล่งข้อมูลภายนอกและภายในกรมสรรพากร เชื่อมโยงกันกับหน่วยงานต่างๆ และมีเกณฑ์ในการคัดเลือกให้คะแนนความเสี่ยงประมาณ 132 เกณฑ์ ซึ่งจะมีการเพิ่มเรื่อยๆ • โดยส่วนใหญ่เกณฑ์พวกนี้จะมาจากการวิเคราะห์ข้อมูลงบการเงิน แบบแสดงรายการภาษี อัตราส่วนทางการเงินและ ค่ามาตรฐานต่างๆในประเทศไทย เช่น GDP • อย่างไรก็ดี มีเกณฑ์หนึ่งที่ใส่เข้ามาและคิดว่าน่าจะเป็นประเด็น นั่นคือ การเลือกใช้ผู้สอบบัญชีและผู้ทำบัญชีที่ได้มาตรฐานหรือไม่ ตรงนี้ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาเช่นเดียวกัน • การได้คะแนนสูงจากเกณฑ์เหล่านี้ไม่ใช่เรื่องราวดีๆ เหมือนได้คะแนนสอบสูง แต่มันคือความเสี่ยงที่จะถูกตรวจสอบตามวิธีการที่สรรพากรเลือกใช้ครับผม • ทั้งหมดนี้ […]

เงินได้พึงประเมินแต่ละกรณีจะคำนวณหักค่าใช้จ่ายได้เท่าใด?

ค่าใช้จ่ายเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคำนวณภาษี ถือเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับหักเป็นต้นทุนในการทำงาน เพื่อให้ได้เงินได้หรือรายได้สุทธินั้นมาคิดภาษีตามบัญชีอัตราภาษี โดยมีอัตราการหักค่าใช้จ่ายมากหรือน้อยตามแต่ละประเภทของเงินได้ สรุปได้ดังนี้ ประเภทเงินได้ หักค่าใช้จ่าย 1. เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หากมีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภท รวมกันแต่หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท 2. เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ฯลฯ 3. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หรือตามจริง 4. ดอกเบี้ย เงินปันผล ส่วนแบ่งกำไร ฯลฯ หักค่าใช้จ่ายไม่ได้ 5. รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อ การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน – บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง […]

ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไป ธุรกิจที่มียอดขายเกิน 30 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องส่งใบกำกับภาษีผ่านระบบให้สรรพากรภายใน 3 วัน 1.E-tax เริ่มแล้ว 2.E-receipt กำลังเริ่ม 3.E-payment ภายใน กย.ปีนี้ ทุกแบงค์จะให้ บ.ทุกบ. ต้องสมัครเข้าระบบprompt pay เพื่อทำทุกธุรกรรมผ่านระบบ ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย 3 โครงการ คือ 1. e-Tax Invoice / e-Receipt — รายใหญ่/รายกลาง/ส่วนราชการ/องค์การหรือสถานสาธารณกุศล เข้าระบบ 1 ม.ค. 61 — รายเล็ก รายได้ 1.8 ล้านบาท ไม่เกิน 30 ล้านบาท เข้าระบบ 1 ม.ค. 63 — รายเล็กมาก รายได้ น้อยกว่า 1.8 ล้านบาท เข้าระบบ 1 […]

หน้าที่ในการเสียภาษีอากรตามกฎหมายเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน

การหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรไม่ได้จำกัดเฉพาะความผิดตามประมวลรัษฎากรเท่านั้น แต่ถือเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการฟอกเงินอีกด้วย หน้าที่ในการเสียภาษีอากรตามกฎหมายเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนตามรัฐธรรมนูญ โดยภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นอำนาจและความรับผิดชอบของกรมสรรพากร แบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น ซึ่งเมื่อประชาชนรู้หรือเพิ่งรู้ว่าตนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรก็ต้องเสียภาษีให้ถูกต้องครบถ้วน กรณีประชาชนที่มีหน้าที่เสียภาษีอากรได้หลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร โดยไม่ชำระภาษีให้แก่กรมสรรพากรหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หนีภาษีอากร (Tax evasion) เจ้าพนักงานกรมสรรพากรสามารถประเมินภาษีอากรบุคคลดังกล่าวได้ตามกฎหมาย ส่งผลให้ต้องเสียภาษีในจำนวนที่ตนไม่ได้เสียหรือเสียขาดไป พร้อมทั้งต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ประการหนึ่ง อย่างไรก็ดีในปัจจุบันปัญหาการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรไม่ได้จำกัดเฉพาะความผิดตามประมวลรัษฎากรแล้วเท่านั้น แต่หากการหลีกเลี่ยงภาษีอากร พยายามหลีกเลี่ยงภาษีอากร หรือฉ้อโกงภาษีอากร หรือขอคืนภาษีโดยความเท็จโดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน เช่น กรณีตามมาตรา 37 มาตรา 37 ทวิ และมาตรา 90/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นความผิดอาญาตามประมวลรัษฎากรอยู่แล้ว แต่การกระทำดังกล่าวยังถือเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการฟอกเงินอีกประการหนึ่งด้วย ซึ่งการกำหนดให้อาชญากรรมเกี่ยวกับภาษีอากรเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการฟอกเงินดังกล่าวต้องพิจารณาองค์ประกอบตามที่กฎหมายกำหนดเป็นสำคัญ สำหรับจุดเริ่มต้นของการควบคุมความผิดฐานฟอกเงินนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง Asia Pacific Group on Money Laundering (APG) ที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นที่ประเทศไทยในช่วง พ.ศ. 2540 ซึ่งตามข้อบังคับ (Terms of References) ของ APG กำหนดให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำของ […]

Copyright © 2017. All rights reserved.