ส่งเงินสมทบประกันสังคมเกิน …. ขอคืนได้
ปัจจุบันมีระเบียบสำนักงานประกันสังคมที่ระบุว่า หากนายจ้างหรือผู้ประกันตน ส่งเงินสบทบเกินจำนวนที่ต้องส่ง สามารถขอรับเงินคืนได้ และหนึ่งในกรณีที่จะขอรับเงินคืนก็คือ การที่ผู้ประกันตนทำงานกับนายจ้างหลายรายนั่นเอง รายละเอียดติดตามได้จากบทความเรื่อง นายจ้าง ผู้ประกันตน นำส่งเงินสมทบไว้เกินจำนวนที่ต้องจ่าย ขอคืนได้ เมื่อเร็วๆ นี้นายจ้างและผู้ประกันตนอาจได้ทราบข่าวว่าสำนักงานประกันสังคมได้ออก ระเบียบสำนักงานประกันสังคม ว่าด้วยการขอรับเงินสมทบที่นำส่งไว้เกินจำนวนที่ต้องชำระคืน พ.ศ. 2560 (มีผลใช้บังคับวันที่ 29 มิถุนายน 2560) โดยมีสาระสำคัญว่า “ให้นายจ้างหรือผู้ประกันตนที่นำส่งเงินสมทบให้แก่สำนักงานประกันสังคมเกินจำนวนที่ต้องชำระ ยื่นคำร้องขอรับเงินคืนเป็นหนังสือต่อสำนักงานประกันสังคมแห่งใดแห่งหนึ่งที่สะดวกในการติดต่อ” สิทธิของนายจ้างและผู้ประกันตนดังกล่าว มีฐานที่มาจากมาตรา 47 วรรค 4 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 บัญญัติว่า “ในกรณีที่นายจ้างนำเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตน หรือเงินสมทบในส่วนของนายจ้างส่งให้แก่สำนักงานเกินจำนวนที่ต้องชำระ ให้นายจ้างหรือผู้ประกันตนยื่นคำร้องขอรับเงินในส่วนที่เกินคืนได้ตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนด” ดังนั้นจึงมีความหมายเฉพาะกรณี “เงินสมทบ” ที่นำส่งไว้เกินจำนวนเท่านั้น ไม่ได้หมายรวมถึงเงินประเภทอื่นแต่อย่างใด ประเด็นปัญหา : การส่งเงินสมทบเกินจำนวนที่จะต้องชำระจะเกิดขึ้นในกรณีใดได้บ้าง? พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 กำหนดหน้าที่ของนายจ้าง ลูกจ้าง (หมายถึง […]